ความเป็นมา
ปัญหาหนึ่งของชุมชนแออัดคลองเตยก็คือ การเกิดเพลิงไหม้ โดยเฉลี่ยแล้วปีละ 5-6 ครั้ง มูลนิธิดวงประทีปร่วมกับผู้นำชุมชนจึงมีการจัดตั้งโครงการ “คลองเตยต้านไฟ” ในปี 2533 โดยมีอาสาสมัครหมุนเวียนเปลี่ยนเข้าเวรยามระมัดระวังการเกิดอัคคีภัย ในปี 2537 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย” สนับสนุนการทำงานของ “ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยคลองเตย”
นโยบาย
ชุมชนปลอดภัย อาสาสมัครหน่วยบรรเทาสาธารณภัยมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันอัคคีภัยและสาธารภัย
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ชุมชนปลอดภัยจากอัคคีภัย
2. เพื่อสนับสนุนการทำงานของอาสาสมัครหน่วยบรรเทาสาธารณภัย
3. เพื่อให้เด็กนักเรียน เยาวชนและชาวชุมชนมีความรู้ ความเข้าใจในการป้องกันและควบคุมอัคคีภัย
พื้นที่การทำงาน
ในพื้นที่ควบคุมเพลิง, ช่วยเหลือผู้เจ็บป่วย, อุบัติเหตุ, จับสัตว์มีพิษ ฯลฯ
การดำเนินงาน
ไม่เพียงดูแลป้องกันอัคคีภัย ยังรวมถึงการช่วยเหลือในด้านอุทกภัย วาตภัย หรือแม้กระทั่งอุบัติเหตุบนท้องถนน อีกทั้งการอบรมให้ความรู้กับอาสาสมัครของศูนย์ และผู้สนใจ รวมถึงส่งผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาล และให้บริการจับสัตย์มีพิษ และความเดือนร้อนอื่นๆ ที่ชาวบ้าน/หน่วยงานร้องขอมายังศูนย์ปฏิบัติงาน 24 ชั่วโมง
1. สนับสนุนการปฏิบัติงานของอาสาสมัครศูนย์บรรเทาสาธารภัย อาทิ อุปกรณ์ดับไฟ ค่านำมันรถดับเพลิง ค่าซ่อมรถ ค่าอาหาร ฯลฯ
2. สนับสนุนการเพิ่มความรู้ ฝึกทักษะแก่อาสาสมัครฯ
3. สนับสนุนการจัดอบรมเด็ก เยาวชน ชาวชุมชน เกี่ยวกับการควบคุมและปัองกันอัคคภัย
เครือข่าย หน่วยบรรเทาชุมชนวัดคลองเตยใน , ชุมชนล๊อค 1-3, ชุมชนล็อค 4-6, ชุมชนพัฒนาใหม่
ความต้องการในการสนับสนุนโครงการได้แก่
1. สนับสนุนอุปกรณ์ดับเพลิง เช่น ชุดดับเพลิง อุปกรณ์ให้แสงสว่าง อุปกรณ์รถพยาบาลสำหรับช่วยเหลือผู้ป่วย
2. งบประมาณในการอบรมชาวชุมชนในเรื่อง “การดับเพลิงขั้นพื้นฐาน”
ปัจจุบันผู้รับผิดชอบโครงการนี้คือ นายสัญชัย ยำสัน และนายอนันต์ หวังพฤกษ์
วันที่ : 30/05/2566