Kru Prateep
ประวัติ ครูประทีป
“ครูประทีป” เติบโตมาจากชุมชนแออันคลองเตย พ่อแม่ย้ายเข้ามาอยู่กรุงเทพฯ ทำงานรับจ้างหาเลี้ยงครอบครัวที่มีลูก 7 คน ครูประทีป เป็นลูกคนสุดท้อง ในสมัยนั้นเด็กที่อาศัยอยู่ในสลัมส่วนใหญ่ แทบจะไม่ได้รับการศึกษา เนื่องจากไม่มีใบเกิด ทำให้ไม่มีโอกาสได้เข้าโรงเรียน แต่ครูประทีป เป็นหนึ่งในเด็กที่โชคดีมีโอกาสได้เรียนหนังสือ และแม่ของครูเองจึงได้เก็บหอมรอบริบ นำเงินบางส่วนมาส่งเสียให้ครูประทีป เรียนในโรงเรียน จวบจนเมื่ออายุได้ 12 ปี ครูประทีปต้องออกจากโรงเรียน ไปทำงานในโรงงานผลิตดอกไม้ไฟ และหลักจากนั้นได้ไปทำงานเป็นคนทำความสะอาดเรือ
4 ปี กับการเรียนในโรงเรียน เป็นแรงผลักดันให้ครูประทีป ต้องการเรียนหนังสือให้มากกว่านี้ ดังนั้นครูประทีปจึงเก็บเงินค่าเล่าเรียน เพื่อไปเรียนภาคค่ำที่ วิทยาลัยสวนดุสิต ในช่วงที่เข้าเรียนภาคค่ำอยู่นั้น ครูประทีป ได้เปิดโรงเรียนสอนเด็กๆ ที่ใต้ทุนบ้าน และตั้งชื่อให้ว่า “โรงเรียนวันละบาท” เพราะนั่นคือจำนวนเงิน ที่ผู้ปกครองจะต้องจ่ายสำหรับบุตรหลาน ที่เข้าเรียนในโรงเรียนนี้ และนี่เองเป็นจุดเริ่มต้น ในการให้การศึกษาแก่เด็กๆ ในสลัมคลองเตย
ในขณะนั้น โรงเรียนวันละบาทของครูประทีป ไม่ได้เป็นที่ยอมรับของทางการ เนื่องจากครูประทีปเอง ยังไม่มีวุฒิบัตรครู แต่ครูประทีป ก็ยังยืนยันเจตนารมณ์ของตนเอง ต่อหน่วยงานราชการ อยู่เสมอว่า เด็กๆ เหล่านี้ จะต้องได้รับการศึกษา และเธอจะทำหน้าที่ของเธอต่อไป จนกว่าทางการจะสามารถให้การศึกษากับเด็กเหล่านี้เองได้
ความขัดแย้งในจุดนี้ ได้แพร่กระจายไปสู่การรับรู้ของประชาชนในสังคม มากขึ้นเป็นลำดับ ทำให้หน่วยงานของรัฐ ก็ไม่กล้าสั่งปิดโรงเรียนดังกล่าว คำสั่งปิดถูกเลื่อนออกไปเรื่อยๆ อย่างไม่มีกำหนด และโรงเรียนวันละบาทก็ยังดำเนินต่อไป จนกระทั่งท้ายที่สุด ทางการได้ยกเลิกคำสั่งปิดโรงเรียนวันละบาท และในเวลานั้น ครูประทีปได้สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพรับราชการครูได้ รัฐจึงโอนโรงเรียนวันละบาท เป็นโรงเรียนที่ถูกต้องตามกฎหมาย อยู่ภายใต้การดูแลของรัฐ ในสังกัดกรุงเทพมหานคร และครูประทีปได้รับการแต่งตั้ง ให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนดังกล่าวในที่สุด
ปัจจุบันนี้ โรงเรียนใต้ถุนบ้านครอบครัวครูประทีป ได้พัฒนาขึ้นมาเป็นโรงเรียนภายใต้ชื่อใหม่ โรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา ตั้งอยู่ถัดจากสำนักงานใหญ่ มูลนิธิดวงประทีป มีเด็กนักเรียนรวมทั้งสิ้น 1,300 คน เปิดสอนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
ในขณะที่ปัญหาเรื่องโรงเรียนผ่านพ้นไปด้วยดี ต่อมาไม่นานนัก ครูประทีปก็ได้รับรางวัล “แม็กไซไซ” จากประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งครูเป็นผู้ที่ได้รับรางวัล ที่มีอายุน้อยที่สุดเป็นคนที่สอง รองจากองค์ดาไลลามะ จากเงินรางวัลจำนวน 402,500 บาท ครูประทีปได้นำเงินทั้งหมด มาก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการศึกษาของเด็กในสลัม ทำให้ในช่วงเวลาไม่นานนัก ครูประทีปก็ได้มีหน้าที่ที่สำคัญในชีวิตพร้อมๆ กันถึงสองตำแหน่ง คือผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชนหมู่บ้านพัฒนา และเลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป แต่หลังจากนั้น 4 ปี ครูประทีปได้ตัดสินใจลาออกจากงานราชการ เพื่อสามารถดูแลงานของมูลนิธิฯ ได้อย่างเต็มที่
งานรับผิดชอบเบื้องต้นของมูลนิธิดวงประทีป คืองานด้านการศึกษาของเด็กในสลัม แต่เนื่องสถานการณ์ และปัญหาสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นงานของมูลนิธิฯ ในปัจจุบันจึงแตกแขนงออกไป เป็นโครงการต่างๆ หลายๆ โครงการ เพื่อให้สามารถครอบคลุมความต้องการ และปัญหาของชุมชนสลัม ได้ทั่วถึงยิ่งขึ้น ในปัจจุบันนี้ มูลนิธิฯ มีโครงการในการดูแลทั้งสิ้น 20 โครงการ ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาชุมชนสลัมในทุกๆ ด้าน งานที่มูลนิธิฯ ได้ให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง คืองานสนับสนุนด้านการศึกษาแก่เด็กในระดับอนุบาล ไปจนกว่าเด็กเหล่านี้ จะสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนของรัฐบาลได้
หนึ่งในโครงการที่น่าสนใจของมูลนิธิดวงประทีป คือ โครงการนิวัฒน์สู่ชีวิตใหม่ และโครงการเยาวชนหญิงสู้ชีวิตใหม่ ในสภาวะที่ครอบครัวแตกร้าว ความรุนแรง ส่งผลกระทบแก่ทุกคนในครอบครัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็ก และเยาวชน หลายคนต้องขาดที่พึ่ง จึงทำให้เขาต้องหันเข้าหายาเสพติด เป็นเด็กเร่ร่อน เป็นอาชญากร เพื่อลดปัญหาความรุนแรง ดังกล่าว มูลนิธิฯ ได้จัดตั้งโครงการนี้ เพื่อช่วยเหลือเยาวชน ที่ประสบปัญหา ให้รู้จักหาทางแก้ไขปัญหาของตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนผู้ติดยาเสพติด ซึ่งจะได้รับการบำบัดฟื้นฟูสภาพร่างกาย และจิตใจโดยวิธี "ธรรมชาติบำบัด" ที่ผ่านมาโครงการฯ สามารหล่อหลอมเยาวชน ที่หลงทางผิด ให้สามารถกลับมาเรียนต่อ ในระดับวิชาสาขาที่เขาถนัด หรือประกอบอาชีพต่าง ๆ อย่างได้ผล กว่า 80%
ปัจจุบันมีเยาวชนในโครงการฯ แบ่งเป็น เยาวชนชายที่ "โครงการนิวัตน์สู่ชีวิตใหม่ " จ.ชุมพร รวม 80 คน ซึ่งเป็นเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 14-20 ปี ส่วนเยาวชนหญิงและเด็กเล็กที่ "โครงการเยาวชนหญิงสู่ชีวิตใหม่ " จ.กาญจนบุรี ได้ช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาครอบครัว และเด็กที่ถูกทอดทิ้ง รวมไปถึงเด็กเร่ร่อนขอทานจากประเทศกัมพูชา โดยทางตำรวจประสานงานมายังองค์กรเอ็นจีโอ เพื่อให้การช่วยเหลือต่อไป
ด้วยความสำเร็จของโครงการดังกล่าว ทำให้หน่วยงานนานาชาติ หลายแห่ง ได้เข้ามาศึกษาดูงานอย่างเป็นระยะๆ เยาวชนบางส่วนที่เคยเข้าร่วมโครงการนี้ ปัจจุบันได้มีโอกาสทำงานที่มูลนิธิฯ และบางส่วนได้มีโอกาสเรียนต่อในประเทศญี่ปุ่น เพื่อแสวงหาความก้าวหน้าในชีวิต
Awards
รางวัล เชิดชูเกรียรติ
เยาวชนดีเด่นแห่งเอเชีย จากสถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น
ปี 2517 ได้รับรางวัล เยาวชนดีเด่นแห่งเอเชีย จากสถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น
รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน
วันที่ 31 สิงหาคม 2521 ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ได้รับรางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน จากประเทศฟิลิปปินส์ และได้เงินรางวัลจำนวน 402,500 บาท ครูประทีปจึงนำเงินรางวัลมาเป็นทุนก่อตั้ง มูลนิธิดวงประทีป
OUTSTANDING WOMEN IN BUDDHISM AWARDS CEREMONY
OUTSTANDING WOMEN IN BUDDHISM AWARDS CEREMONY In Honor of the UN International Women Day March 7, 2007 8.00 am - 4.00 pm United Nations, Bangkok, Thailand
รางวัล "ตาชั่งทอง" บุคคลแบบอย่างด้านสงเคราะห์
วันที่ 1 มิถุนายน 2555 ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป และเลขาธิการมูลนิธิฯ (ในปัจจุบัน) ได้รับประทานรางวัล "ตาชั่งทอง" ซึ่งเป็นรางวัลสำหรับบุคคลที่เป็นแบบอย่างด้านสงเคราะห์ ที่ได้ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่สถานพินิจ และได้ให้ความช่วยเหลือเด็กและเยาวชนที่เคยหลงผิดกลับเป็นเด็กดีคืนสู่สังคม
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น
วันที่ 6 กรกฏาคม 2565 ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ได้พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ระดับสูงของประเทศญี่ปุ่น จากสมเด็จพระจักรพรรดินารุฮิโต โดยผ่านอดีตนายกรัฐมนตรี ฯพณฯ นายซูงะ โยชิฮิเดะ ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย
รางวัลแม่ตัวอย่างปี 2565 เนื่องในวันแม่แห่งชาติ
วันที่ 12 สิงหาคม 2565 ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ได้รับมอบโล่ประกาศเกียรติคุณ "แม่ตัวอย่าง ประจำปี 2565" จากสำนักงานเขตคลองเตย โดย นางสาวปิยธิดา นิยม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตคลองเตยเป็นประธานในพิธีมอบรางวัลดังกล่าว
โล่เกียรติยศบุคคลคุณภาพแห่งปี 2022
วันที่ 19 ตุลาคม 2565 ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ เข้ารับโล่เกียรติยศ "บุคคลคุณภาพแห่งปี 2022" จัดโดยมูลนิธิสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (มสวท.) โดย ฯพณฯ นายเกษม จันทร์แก้ว(องคมนตรี) ประธานในพิธีเป็นผู้มอบโล่เกียรติยศ
รางวัล Peace Award จากมหาวิทยาลัยสยาม
ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ รับรางวัลเกียรติบัตร Peace Award จากมหาวิทยาลัยสยาม The community towards peace and peaceful reconciliation , The award was conferred by GCS International โดยท่านอธิการบดี ดร.พรชัย มงคลวนิช ร่วมกับ Dr. Chungwon Choue The President of GCS International
แม่ตัวอย่างกรุงเทพมหานครประจำปี 2566 ตัวแทนเขตคลองเตย
ครูประทีป อึ้งทรงธรรมฮาตะ ได้รับเลือกเป็นแม่ตัวอย่างกรุงเทพมหานครประจำปี 2566 ตัวแทนเขตคลองเตย เป็น 1 ในจำนวน 50 เขต ในงาน งานเชิดชูเกี่ยรตื "วันแม่" ประจำปี2566 โดยรองศาสตราจารย์ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่ากรุงเทพมหานคร เป็นประธานในพิธีมอบโล่รางวัลดังกล่าว นอกจากนี้ นางเบญญา อินทรวงศ์โชติ ผู้อำนวยการเขตคลองเตย ,เจ้าหน้าที่สำนักงานเขตคลองเตย