ช่วงระยะเวลา 30 ปี กับการทำงาน ของมูลนิธิดวงประทีปหากเปรียบเทียบกับ
การทำงานของคนคนหนึ่งอาจเรียกได้ว่าทำงานผ่านมาครึ่งชีวิต กว่าจะมาถึงวันนี้
คงไม่ใช่เรื่องง่ายนักสำหรับองค์กรที่ต้องต่อสู้ฟันฝ่ากับปัญหา อุปสรรคนานัปการ
และปัญหาบางปัญหาก็เป็นปัญหาที่ทับถมมานานยากที่จะแก้ไข โดยเฉพาะปัญหา
ความยากจน อันนำไปสู่การขาดโอกาสทางสังคมหลายๆด้านของผู้ด้อยโอกาส เช่น
ปัญหาการขาดโอกาสทางการศึกษา ซึ่งจะเป็นอาวุธทางปัญญาที่จะช่วยให้คนใน
สังคมที่มีความต่างกันได้มีโอกาสสร้างความทัดเทียมขึ้นมาภายในสังคมบ้าง และ
จากความคิดและอุดมการณ์อันแน่วแน่ของครูประทีป อึ้งทรงธรรม และครูมิ่งพร
อึ้งทรงธรรม นี้เองจึงเป็นจุดเริ่มต้นของโรงเรียนวันละบาท ในปีพ.ศ. 2511
รับดูแลเด็กที่พ่อแม่ต้องทำงาน ไม่มีใครดูแลในชุมชนแออัด
เนื่องจากลูกไม่มีหลักฐานการเกิด ไม่มีสถานภาพที่กฎหมายยอมรับให้มีโอกาส
เรียนหนังสือ แต่โรงเรียนวันละบาทเป็นโรงเรียนเถื่อน ไม่ได้รับการยอมรับจาก
ทางรัฐ ต่อมากรุงเทพมหานครได้รับโรงเรียนขอชุมชนไว้ในสังกัดโดยใช้ชื่อว่า
โรงเรียนหมู่บ้านพัฒนา ในปี พ.ศ. 2519
จากจุดเริ่มต้นของอุดมการณ์มาถึงการก่อตั้งองค์กรการกุศลที่ชื่อว่า
มูลนิธิดวงประทีป ด้วยเงินรางวัลจำนวน 20,000 เหรียญดอลล่าสหรัฐฯ
หรือคิดเป็นเงินไทยขณะนั้น 420,000 บาท รางวัลแมกไซไซ สาขาบริการชุมชน
จากประเทศฟิลิปปินส์
ซึ่งครูประทีปได้รับเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2521 ดวงประทีปหมายถึงดวงไฟ
แห่งแสงสว่างเปลวไฟล้อมอักษรตัว ด หมายถึงการพัฒนาเด็กในทุกด้าน จาก
ปัญหาต่างๆมูลนิธิฯจึงได้ทำโครงการเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับเด็กและผู้ด้อยโอกาส
พัฒนาตนเองและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติ อาทิ โครงการทุนการศึกษา
โครงการอนุบาลดวงประทีป
โครงการนิทานคาราวาน โครงการการศึกษาพิเศษ โครงการศิลปะเด็ก โครงการอนุบาล
ชุมชนโครงการส่งเสริมองค์กรชุมชน โครงการพัฒนาผู้นำเยาวชน โครงการศูนย์สุขภาพ
คลองเตยต้านยาเสพติด (เพาะกาย) โครงการศูนย์บรรเทาสาธารณภัยดวงประทีป โครง
การผู้สูงอายุ โครงการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ โครงการนิวัตน์สู่ชีวิตใหม่ โครงการ
ฟื้นฟูผู้ประสบภัยธรณีพิบัติ โครงการแก้ไขปัญหาสถานะบุคคล ฯลฯ
ด้วยความมุ่งมั่นในการต่อสู้กับปัญหาอุปสรรคต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาสังคม 30 ปีแห่ง
ความมุ่งมั่น ได้ผลิดอกออกผลกลายเป็นเมล็ดพันธ์แห่งความดีที่งอกงามอยู่กลางชุมชน
แออัดคลองเตยมากมาย จากผลของการมอบทุนการศึกษาตลอดระยะเวลา 30 ปี
ประมาณ 189,908 ทุน ให้แก่เยาวชน ทำให้เยาวชนมีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ไม่ออกเรียนกลางคัน โดยเฉลี่ยมีเยาวชนที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี ปีละ 15 คน
ที่สามารถออกไปประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัว และเป็นหลักให้กับสมาชิกในครอบครัว
ต่อไป บ้างก็ได้ไปศึกษาต่อต่างประเทศ ได้นำความรู้เทคโนโลยี ภาษา วัฒนธรรม ไป
แลกเปลี่ยนและเผยแพร่เปิดโลกทรรศ์ให้กับเยาวชน
เป็นการมอบอาวุธทางปัญญาให้เยาวชนและลดช่องว่างทางสังคมเยาวชนบางคน
นอกจากจะดูแลตัวเองและครอบครัวแล้ว ยังเอื้ออาทรต่อรุ่นน้องโดยกลับมาเป็น
ผู้อุปการะให้กับน้องๆรุ่นต่อไป การแก้ไขปัญหาการศึกษาขั้นพื้นฐานสามารถช่วยได้เกือบ
ร้อยเปอร์เซ็นต์
การแก้ไขปัญหาสถานะบุคคลครอบครัวของเด็กและเยาวชน การนำชื่อเด็กเข้าทะเบียน
บ้าน หรือแก้ปัญหาเพื่อให้เด็กได้รับใบสูติบัตร อันเนื่องมาจากการที่พ่อแม่ไม่เข้าใจขั้น
ตอนทางกฎหมาย และไม่มีที่อยู่อาศัยทั้งไม่มีทะเบียนบ้านจึงทำให้เด็กที่เกิดมาไม่
สามารถนำชื่อเข้าไปในรายการทะเบียนราษฎรได้ คือไม่ปรากฏชื่อในทะเบียนบ้าน ทำ
ให้เป็นคนเถื่อนขาดโอกาสทางการศึกษา โดยในปัจจุบันได้รับการแก้ไขตามพระราช
บัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2551 และ พระราช
บัญญัติสัญชาติ พ.ศ. 2508 แก้ไขเพิ่มเติมฉบับที่ 4 พ.ศ. 2551 ประกอบระเบียบ
การทรวงศึกษาธิการประกาศกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยหลักฐานในการรับนักเรียน
นักศึกษา เข้าในสถานศึกษา พ.ศ. 2548 และมติคณะรัฐมนตรี 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2548
อย่างไรก็ตามยังเป็นปัญหาในระดับปฏิบัติ ทั้งในระดับทะเบียนท้องถิ่น และทะเบียนอำเภอ
ทั่วประเทศ
ปัญหาสถานะบุคคล อาจพบทั้งที่เป็นคนไทย คนต่างด้าว ชนเผ่า ซึ่งพวกเขาต้องได้รับ
การแก้ไขโดยเจ้าพนักงานของรัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ความสำคัญต่อการ
แก้ไขปัญหาสถานะบุคคลอย่างแท้จริง โครงการแก้ปัญหาที่สถานะบุคคลครอบครัวของ
เด็กและเยาวชน มูลนิธิดวงประทีป ได้รับการร้องขอจากบุคคลผู้ไม่มีสถานะทางทะเบียน
และบัตรกว่า 200 ราย ในระยะ 4 ปีที่ผ่านมาสามารถ แก้ไขปัญหาแล้วเสร็จ 70 ราย
อยู่ในระหว่างดำเนินการอีก 120 ราย
การแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยนับจากปี พ.ศ. 2521 เป็นต้นมามูลนิธิดวงประทีป ได้พยายาม
เรียกร้องให้รัฐเข้ามาช่วยเหลือแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย การเคหะแห่งชาติได้เช่าที่ดิน
ของการท่าเรือเพื่อสร้างแฟลตให้ชุมชนแออัดได้มีที่อยู่อาศัย แต่กระนั้นที่อยู่อาศัยก็ยัง
ไม่เพียงพอสำหรับคนยากจนที่อพยพเข้ามาในเมืองทุกปี เกิดปัญหาสภาพแวดล้อม
ปัญหาไฟไหม้ ปีละ 4-6 ชุมชน เป็นประจำ การให้ความช่วยเหลือ สงเคราะห์เฉพาะหน้า
เช่น วัสดุ ก่อสร้างบ้าน เฉลี่ย 500-600 หลังคาเรือนต่อปี ด้านปัญหาการไล่ที่ ช่วยให้
การสนับสนุนแกนนำ ทางกฎหมาย เพื่อให้เข้าใจการแก้ปัญหา ให้ความรู้เรื่ององค์กร ภาครัฐ
ให้คำปรึกษาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การแก้ไขปัญหาเป็นไปโดยเป็นไปโดยประนีประนอม
ชาวบ้านไม่ถูกไล่รื้อโดยเร็ว มีเวลาตั้งตัวและหาทางออก ปัญหาการไล่รื้อยังคงมีอยู่จนกระทั่ง
ปัจจุบันโดยเฉลี่ย 10 ชุมชนต่อปี นอกจากการช่วยเหลือ สงเคราะห์เฉพาะหน้าด้านที่อยู่อาศัย
แล้ว กรณีเจ็บป่วย กิจกรรมชุมชนเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะเพื่อให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
มูลนิธิฯ ยังให้การสนับสนุนกิจกรรมชุมชน อีกปีละกว่า 200 ราย เหล่านี้คือปัญหาที่มูลนิธิฯ
พยายามที่จะเข้ามาให้การช่วยเหลือ เป็นแรงหนุน ขับเคลื่อน เพื่อเติมเต็มให้กับคนยากจนได้
มีกำลังใจที่จะต่อสู้ต่อไป
คำกล่าวของครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ ประธานมูลนิธิดวงประทีป
การทำงานเพื่อให้การช่วยเหลือเด็กยากจนพัฒนาคนยากไร้ยังคงต้องดำเนินต่อไป
เพื่อให้ คนจนได้มีที่ยืนในสังคมอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ให้เขาได้เป็น
ส่วนหนึ่งของผืนแผ่นดิน มีสิทธิและความ เสมอภาคเฉกเช่นคนในสังคมทั่วไปนี่คือ
ความตั้งใจที่ทำงานมาถึง 30ปี